วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นสะแบง


ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Dipterocapus intricatus Dyer

วงศ์
DIPTEROCARPACEAE

ชื่อพื้นเมือง
สะแบง (อุตรดิตถ์ ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะแบง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เดียงพลวง ตาด (พล จันทบุรี) ซาด (ชัยภูมิ); เดียงพลวง เดียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์) เห่ง (น่าน)

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
ขึ้นเป็นกลุ่มๆบริเวณดินทรายเช่นป่าเบญจพรรณป่าเต็งรังและป่าชายหาดทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางและภาคใต้ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม

ชนิดป่าที่พบ
พบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วประเทศ

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้



 - ใบ








- ดอก





-





ผล
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา และเป็นร่องลึก ตามยาว




- ใบ ใบมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่ ขนาดใหญ่ กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว13-25 เซนติเมตร ปลายมน โคนมนหรือหยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ



- ดอก ดอกออกรวมเป็นช่อเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลุ่มละ 3-7 ดอก ขนาดดอก 3.5-5 เซนติเมตร แกนก้านรูปซิกแซก ก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร และมีขนหนาแน่น  ก้านดอกย่อยมีตั้งแต่สั้นมากจนยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูสด กลีบดอกรูปกรวย โคนกลีบชิดกันปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน
- ผล แห้งแบบผลผนังชั้นในแข็ง ผลกลม แข็ง เกลี้ยง ไม่มีสันหรือปุ่มด้านบน เมื่ออ่อนมีขนปกคลุม เมื่อแก่เรียบเกลี้ยง ผลแก่สีน้ำตาลเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงมี 5 ปีก







การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ปลายเดือนมกราคม

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
เป็นไม้ทางเศรษฐกิจ  ใช้ในการก่อสร้าง  ทำเครื่องเรือน  ทำเครื่องใช้ส่วนขี้ซี  (ยางชัน)  ใช้เป็นเชื้อจุดไฟ (ไต้)(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชนและปราชญ์  ผู้รู้ในพื้นที่)

แหล่งอ้างอิง
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ต้นพอก

ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ ชื่อพฤกษศาสตร์ Parinari anamense Hance วงศ์ ROSACEAE ...