วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นพญาสัตบรรณ


ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Alstonia  Schoiaris  (B).Br.

วงศ์
ARORYNACEAE

ชื่อพื้นเมือง
ต้นตีนเป็ด บะชา  ปูเล หัสบัน

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้   และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชนิดป่าที่พบ
พบตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณบริเวณริมน้ำ

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้






- ใบ







- ดอก






- ผล
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา







- ใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ



- ดอก ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน       ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง



- ผลเป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 ซม.เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง




การขยายพันธุ์
 เพาะเมล็ด  การปักชำ

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ตุลาคม - ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม   เมล็ดแก่ประมาณเดือน มีนาคม

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อไม้หยาบ อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน  รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้  ใบใช้พอกดับพิษต่าง ๆ ยางทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย

แหล่งอ้างอิง
สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม
ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ต้นพอก

ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ ชื่อพฤกษศาสตร์ Parinari anamense Hance วงศ์ ROSACEAE ...