วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ต้นพอก


ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Parinari anamense Hance

วงศ์
ROSACEAE

ชื่อพื้นเมือง
กระท้อนลอก จัด จั๊ด ตะเลาะ ตะโลก ท่าลอก ประดงไฟ ประดงเลือด พอก มะเมื่อ

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
พบได้ทั้งป่าดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ จนถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 1,500 ม.

ชนิดป่าที่พบ
ป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไปทุกภาค

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้









 - ใบ






- ดอก






- ผล
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาล-เทาแตกเป็นร่องตื้นๆและเป็นเกล็ดสี่เหลี่ยมถี่ๆ






- ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรีผิวใบด้านล่างมีขนสีขาวแกมน้ำตาล




- ดอกอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว





- ผล ผลสด รูปค่อนข้างกลมหรือรูปกระสวย





การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
มกราคม ถึง กุมภาพันธ์

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
ตำรายาไทยใช้ แก่น ต้มน้ำดื่มและอาบแก้ประดง (อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย) แก้ผื่นคันแดงทั่วตัว ปวดแสบร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม ยาพื้นบ้านใช้ แก่น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หืด เปลือกต้น ประคบแก้ช้ำใน แก้ปวดบวม

แหล่งอ้างอิง
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1


ต้นสะแบง


ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Dipterocapus intricatus Dyer

วงศ์
DIPTEROCARPACEAE

ชื่อพื้นเมือง
สะแบง (อุตรดิตถ์ ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะแบง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เดียงพลวง ตาด (พล จันทบุรี) ซาด (ชัยภูมิ); เดียงพลวง เดียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์) เห่ง (น่าน)

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
ขึ้นเป็นกลุ่มๆบริเวณดินทรายเช่นป่าเบญจพรรณป่าเต็งรังและป่าชายหาดทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางและภาคใต้ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม

ชนิดป่าที่พบ
พบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วประเทศ

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้



 - ใบ








- ดอก





-





ผล
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา และเป็นร่องลึก ตามยาว




- ใบ ใบมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่ ขนาดใหญ่ กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว13-25 เซนติเมตร ปลายมน โคนมนหรือหยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ



- ดอก ดอกออกรวมเป็นช่อเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลุ่มละ 3-7 ดอก ขนาดดอก 3.5-5 เซนติเมตร แกนก้านรูปซิกแซก ก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร และมีขนหนาแน่น  ก้านดอกย่อยมีตั้งแต่สั้นมากจนยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูสด กลีบดอกรูปกรวย โคนกลีบชิดกันปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน
- ผล แห้งแบบผลผนังชั้นในแข็ง ผลกลม แข็ง เกลี้ยง ไม่มีสันหรือปุ่มด้านบน เมื่ออ่อนมีขนปกคลุม เมื่อแก่เรียบเกลี้ยง ผลแก่สีน้ำตาลเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงมี 5 ปีก







การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ด

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ปลายเดือนมกราคม

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
เป็นไม้ทางเศรษฐกิจ  ใช้ในการก่อสร้าง  ทำเครื่องเรือน  ทำเครื่องใช้ส่วนขี้ซี  (ยางชัน)  ใช้เป็นเชื้อจุดไฟ (ไต้)(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชนและปราชญ์  ผู้รู้ในพื้นที่)

แหล่งอ้างอิง
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2

ต้นพญาสัตบรรณ


ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Alstonia  Schoiaris  (B).Br.

วงศ์
ARORYNACEAE

ชื่อพื้นเมือง
ต้นตีนเป็ด บะชา  ปูเล หัสบัน

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้   และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชนิดป่าที่พบ
พบตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณบริเวณริมน้ำ

ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้






- ใบ







- ดอก






- ผล
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา







- ใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ



- ดอก ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน       ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง



- ผลเป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 ซม.เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง




การขยายพันธุ์
 เพาะเมล็ด  การปักชำ

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ตุลาคม - ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม   เมล็ดแก่ประมาณเดือน มีนาคม

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อไม้หยาบ อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน  รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้  ใบใช้พอกดับพิษต่าง ๆ ยางทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย

แหล่งอ้างอิง
สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม
ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden




ต้นมะขาม


ข้อมูล
รายละเอียด
ภาพประกอบ
ชื่อพฤกษศาสตร์
Tamarindus  indica

วงศ์
LEGUMUNOSSAE

ชื่อพื้นเมือง
มะขาม มะขามไทย (ภาคกลาง) ตะลบ (นครศรีธรรมราช) ม่วงโคล้ง (กาญจนบุรี)

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินลูกรัง เจริญในดินร่วน ทนแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมคือฤดูฝน

ชนิดป่าที่พบ


ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
 - ใบ












- ดอก







- ผล
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ลำต้นเหนือดิน  ตั้งตรงเองได้ เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ




- ใบ เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่


- ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว

- ผล เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม







การขยายพันธุ์
ทาบกิ่ง , ติดตา , ตอนกิ่ง

ช่วงเวลาออกดอก-ผล
1 ปี  มะขามจะออกดอกและบานประมาณ 5-10 ชุด ระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน นับตั้งแต่ออกดอกฝักจะใช้เวลา 6 เดือน จะเป็นฝักดิน

การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
เป็นสรรพคุณทางยา เช่น เป็นยาระบาย  ขับพยาธิไส้เดือน  ขับเสมหะ  และมีคุณค่าทางโภชนาการ  ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี และอุดมด้วยกรดอินทรีย์  มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน  คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมากลและเนื้อไม้ปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงา  ทำเป็นเครื่องการเกษตร

แหล่งอ้างอิง
สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม


ต้นพอก

ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ ชื่อพฤกษศาสตร์ Parinari anamense Hance วงศ์ ROSACEAE ...