ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Tamarindus
indica
|
|
วงศ์
|
LEGUMUNOSSAE
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
มะขาม มะขามไทย (ภาคกลาง) ตะลบ (นครศรีธรรมราช)
ม่วงโคล้ง (กาญจนบุรี)
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินลูกรัง
เจริญในดินร่วน ทนแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมคือฤดูฝน
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
||
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
-
ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก - ผล |
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ เปลือกสีน้ำตาล
ขรุขระ
- ใบ เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่ - ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว - ผล เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม |
|
การขยายพันธุ์
|
ทาบกิ่ง , ติดตา
, ตอนกิ่ง
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
1 ปี
มะขามจะออกดอกและบานประมาณ 5-10 ชุด ระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
นับตั้งแต่ออกดอกฝักจะใช้เวลา 6 เดือน จะเป็นฝักดิน
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
เป็นสรรพคุณทางยา เช่น เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน ขับเสมหะ
และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ
ลดความร้อนของร่างกายได้ดี และอุดมด้วยกรดอินทรีย์ มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมากลและเนื้อไม้ปลูกเป็นไม้ประดับ
และให้ร่มเงา ทำเป็นเครื่องการเกษตร
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม
|
วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ต้นมะขาม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ต้นพอก
ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ ชื่อพฤกษศาสตร์ Parinari anamense Hance วงศ์ ROSACEAE ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น