ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Parinari anamense Hance
|
|
วงศ์
|
ROSACEAE
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
กระท้อนลอก จัด จั๊ด ตะเลาะ ตะโลก ท่าลอก
ประดงไฟ ประดงเลือด พอก มะเมื่อ
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
พบได้ทั้งป่าดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ
จนถึงความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 1,500 ม.
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
ป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง
และป่าเบญจพรรณทั่วไปทุกภาค
|
|
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
-
ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ดอก - ผล |
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ ลำต้นเปลาตรง
เปลือกต้นสีน้ำตาล-เทาแตกเป็นร่องตื้นๆและเป็นเกล็ดสี่เหลี่ยมถี่ๆ
- ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปวงรีผิวใบด้านล่างมีขนสีขาวแกมน้ำตาล - ดอกอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว - ผล ผลสด รูปค่อนข้างกลมหรือรูปกระสวย |
|
การขยายพันธุ์
|
ใช้เมล็ด
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
มกราคม ถึง กุมภาพันธ์
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
ตำรายาไทยใช้ แก่น ต้มน้ำดื่มและอาบแก้ประดง
(อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย)
แก้ผื่นคันแดงทั่วตัว ปวดแสบร้อน มีน้ำเหลืองไหลซึม ยาพื้นบ้านใช้ แก่น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หืด เปลือกต้น ประคบแก้ช้ำใน แก้ปวดบวม
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เล่ม 1
|
วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ต้นพอก
ต้นสะแบง
ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Dipterocapus intricatus Dyer
|
|
วงศ์
|
DIPTEROCARPACEAE
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
สะแบง (อุตรดิตถ์ ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะแบง
(ตะวันออกเฉียงเหนือ) เดียงพลวง ตาด (พล จันทบุรี) ซาด (ชัยภูมิ);
เดียงพลวง เดียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์) เห่ง (น่าน)
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
ขึ้นเป็นกลุ่มๆบริเวณดินทรายเช่นป่าเบญจพรรณป่าเต็งรังและป่าชายหาดทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลางและภาคใต้ออกดอกเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
พบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วประเทศ
|
|
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
-
ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
-
ผล |
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา และเป็นร่องลึก ตามยาว
- ใบ ใบมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่ ขนาดใหญ่ กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว13-25 เซนติเมตร ปลายมน โคนมนหรือหยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ - ดอก ดอกออกรวมเป็นช่อเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลุ่มละ 3-7 ดอก ขนาดดอก 3.5-5 เซนติเมตร แกนก้านรูปซิกแซก ก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร และมีขนหนาแน่น ก้านดอกย่อยมีตั้งแต่สั้นมากจนยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูสด กลีบดอกรูปกรวย โคนกลีบชิดกันปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน
- ผล แห้งแบบผลผนังชั้นในแข็ง
ผลกลม แข็ง เกลี้ยง ไม่มีสันหรือปุ่มด้านบน เมื่ออ่อนมีขนปกคลุม
เมื่อแก่เรียบเกลี้ยง ผลแก่สีน้ำตาลเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงมี 5 ปีก
|
|
การขยายพันธุ์
|
ใช้เมล็ด
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
ปลายเดือนมกราคม
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
เป็นไม้ทางเศรษฐกิจ ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน ทำเครื่องใช้ส่วนขี้ซี (ยางชัน)
ใช้เป็นเชื้อจุดไฟ
(ไต้)(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชนและปราชญ์ ผู้รู้ในพื้นที่)
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เล่ม 2
|
ต้นพญาสัตบรรณ
ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Alstonia
Schoiaris (B).Br.
|
|
วงศ์
|
ARORYNACEAE
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
ต้นตีนเป็ด บะชา ปูเล หัสบัน
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ
ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
พบตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง
หรือป่าเบญจพรรณบริเวณริมน้ำ
|
|
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
-
ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ - ดอก - ผล |
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา
- ใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ - ดอก ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง - ผลเป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 ซม.เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง |
|
การขยายพันธุ์
|
เพาะเมล็ด
การปักชำ
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
ตุลาคม - ธันวาคม
เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม
เมล็ดแก่ประมาณเดือน มีนาคม
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อไม้หยาบ
อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน
เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้ ใบใช้พอกดับพิษต่าง ๆ
ยางทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม
ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden
|
ต้นมะขาม
ข้อมูล
|
รายละเอียด
|
ภาพประกอบ
|
ชื่อพฤกษศาสตร์
|
Tamarindus
indica
|
|
วงศ์
|
LEGUMUNOSSAE
|
|
ชื่อพื้นเมือง
|
มะขาม มะขามไทย (ภาคกลาง) ตะลบ (นครศรีธรรมราช)
ม่วงโคล้ง (กาญจนบุรี)
|
|
ลักษณะทางนิเวศวิทยา
(การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
|
ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินลูกรัง
เจริญในดินร่วน ทนแล้งได้ดี ฤดูที่เหมาะสมคือฤดูฝน
|
|
ชนิดป่าที่พบ
|
||
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
-
ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก - ผล |
- ลำต้น/ลักษณะเนื้อไม้ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ เปลือกสีน้ำตาล
ขรุขระ
- ใบ เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่ - ดอก ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว - ผล เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม |
|
การขยายพันธุ์
|
ทาบกิ่ง , ติดตา
, ตอนกิ่ง
|
|
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
|
1 ปี
มะขามจะออกดอกและบานประมาณ 5-10 ชุด ระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน
นับตั้งแต่ออกดอกฝักจะใช้เวลา 6 เดือน จะเป็นฝักดิน
|
|
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
|
เป็นสรรพคุณทางยา เช่น เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน ขับเสมหะ
และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ
ลดความร้อนของร่างกายได้ดี และอุดมด้วยกรดอินทรีย์ มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมากลและเนื้อไม้ปลูกเป็นไม้ประดับ
และให้ร่มเงา ทำเป็นเครื่องการเกษตร
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ต้นพอก
ข้อมูล รายละเอียด ภาพประกอบ ชื่อพฤกษศาสตร์ Parinari anamense Hance วงศ์ ROSACEAE ...